วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 วัยรุ่นกับการเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เรื่อง ภาวะการเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐานเวลา 3 ชั่วโมง
สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
การเจริญเติบโตของวัยรุ่นจะแตกต่างกันไปตามปัจจัยหลายประการ บางคนเจริญเติบโตช้า บางคนเจริญเติบโตเร็ว  ในขณะที่บางคนมีการเจริญเติบโตสมวัย ซึ่งขึ้นอยู่ปัจจัยภายในและภายนอกร่างกาย
ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้
ตัวชี้วัด   พ 1.1  ม.1/3  วิเคราะห์ภาวะการเจริญเติบโตทางร่างกายของตนเองกับเกณฑ์มาตรฐาน

จุดประสงค์การเรียนรู้1. อธิบายภาวะการเจริญเติบโตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของวัยรุ่นได้
2. วิเคราะห์ภาวะการเจริญเติบโตทางร่างกายของตนเองกับเกณฑ์มาตรฐานได้
สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้แกนกลาง   การวิเคราะห์ภาวะการเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐานและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ความสามารถในการคิด - ทักษะการคิดวิเคราะห์
 - ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต - กระบวนการปฏิบัติ
 - กระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
กิจกรรมการเรียนรู้
(วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย /วิธีสอนแบบกระบวนการคิดวิเคราะห์ )
นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน   หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

ชั่วโมงที่ 1-21. ครูถามนักเรียนว่า  เราจะรู้ได้อย่างไรว่า  นักเรียนมีการเจริญเติบโตปกติหรือไม่  อย่างไร
2. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น หรือตอบคำถามอย่างอิสระ
3. ให้นักเรียนช่วยกันบอกวิธีการวัด  หรือเปรียบเทียบการเจริญเติบโตอย่างง่ายๆ   โดยครูอาจเสนอแนะแนวทางเพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจหรือมีประสบการณ์ร่วมด้วย  เช่น
    - การวัดความสูงจากเพื่อนในชั้นเรียนในตอนเข้าแถวเคารพธงชาติ
    - การแบ่งกลุ่มในการเล่นชักเย่อ / การต่อตัวในชั่วโมงพลศึกษา
4. ครูนำตารางแสดงเกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตมาให้นักเรียนดู   แล้วถามนักเรียนว่า  ตารางนี้นำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
5. ครูชี้แจงให้นักเรียนทราบว่า  การวัดการเจริญเติบโตสามารถเปรียบเทียบจากตารางแสดงเกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตได้ 
6. ให้นักเรียนช่วยกันบอกปัจจัยที่ทำให้เพื่อนในวัยเดียวกันของนักเรียนมีภาวะการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน  เช่น
    - พันธุกรรม
    - อาหารที่รับประทาน
    - การออกกำลังกาย
    - การเลี้ยงดู
    - การเจ็บป่วย
             ฯลฯ
7. ให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง ภาวะการเจริญเติบโตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของวัยรุ่น  จากหนังสือเรียน
8. ให้นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้  แล้วเขียนแผนผังความคิดแสดงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของวัยรุ่น  ลงในกระดาษ A4 ที่ครูแจกให้
9. ให้นักเรียนนำเสนอผลงานการเขียนแผนผังความคิดหน้าชั้นเรียน  แล้วให้นักเรียนช่วยกันคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุด 3 ผลงาน  มาจัดป้ายนิเทศแสดงผลงานหน้าชั้นเรียนเป็นเวลา 1 สัปดาห์

ชั่วโมงที่ 31. ครูมอบหมายให้นักเรียนเตรียมเครื่องชั่งน้ำหนัก  และที่วัดส่วนสูง ที่บริเวณหน้าชั้นเรียน  แล้วให้นักเรียนผลัดกันชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง  และบันทึกผล
2. ให้นักเรียนศึกษาความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโต   แล้วนำความรู้ที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์และประเมินการเจริญเติบโตของตนเอง จากตารางเกณฑ์มาตรฐาน  จากนั้นครูสุ่มถามนักเรียนเกี่ยวกับภาวะการเจริญเติบโตของตนเอง
3. ให้นักเรียนร่วมกันศึกษาใบความรู้  เรื่อง  กราฟแสดงเกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโต แล้วตอบคำถามในแบบทดสอบความรู้ให้ถูกต้อง             
4. นักเรียนและครูร่วมกันเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง
5. ครูสอนและอธิบายให้นักเรียนรู้จักการคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index  : BMI) พร้อมสาธิตวิธีคำนวณให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ
6. นักเรียนคำนวณหาค่าดัชนีมวลกายของตนเอง โดยแสดงวิธีคำนวณลงในแบบบันทึกที่ครูแจกแล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานซึ่งอยู่ในแบบบันทึกที่ครูแจกให้
7. ครูสรุปภาพรวมของภาวะการเจริญเติบโตและพัฒนาการของนักเรียนในห้องให้นักเรียนทราบและให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ครูสรุปให้ฟัง
การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ
เครื่องมือ
เกณฑ์
 นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
 แบบทดสอบก่อนเรียน
 ร้อยละ 50   ผ่านเกณฑ์
 นักเรียนคำนวณหาค่า BMI และบันทึกผล
 แบบบันทึกการคำนวณหาค่า BMI
 ร้อยละ 60   ผ่านเกณฑ์
 นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
 แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
 กลุ่ม
 ระดับคุณภาพ  2  ผ่านเกณฑ์
 นักเรียนนำเสนอผลงาน
 แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
 ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้1. หนังสือเรียน  สุขศึกษา  ม.1
2. ตารางเกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโต
3. กระดาษ A4
4. เครื่องชั่งน้ำหนัก   และที่วัดส่วนสูง
5. ใบความรู้  เรื่อง  กราฟแสดงเกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโต
6. แบบบันทึกการคำนวณหาค่า BMI
7. แบบบันทึกน้ำหนัก  ส่วนสูง  ค่า BMI  และการแปลผล

แหล่งการเรียนรู้1. ห้องสมุด
2. ห้องพยาบาล
3. สถานพยาบาล
4. เอกสาร/แผ่นพับของกระทรวงสาธารณสุข
เอกสารแนบ
ไฟล์ใบงาน: 
ไฟล์แบบทดสอบ: 
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด
คะแนนโหวต : 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น