วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555








unit: 1 Life and Family.

topic: The physical changes of adolescence.

lesson objective: Describe the importance of neural and endocrine systems that affect health. Growth and Development of adolescents.

activity: Ask students to tell the location and function of various organs of the body.

learners activity worksheet: a study of the work.

hand out: a study of the knowledge.

evauation:
The participation in the activity. Exchange and discussion.




<iframe width="560" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/gIy99b-Joa0" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

unit: 1 ชีวิตและครอบครัว

topic: การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของวัยรุ่น

lesson objective: อธิบายความสำคัญของระบบประสาทและต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อสุขภาพ เจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น

activity:สอบถามนักเรียนที่จะบอกสถานที่และการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย

learners activity worksheet: การศึกษาการทำงาน

hand out:การศึกษาความรู้

evauation: การมีส่วนร่วมในกิจกรรม แลกเปลี่ยนและอภิปราย






:

วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555


ใบความรู้ที่  3

การปฏิบัติตนเมื่อเข่้าสู่วัยรุ่น

ฝันเปียกคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร

                   การฝันเปียก เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายมีการผลิตน้ำอสุจิ จะเก็บสะสมไว้และเมื่อมีปริมาณมากเกินไป ร่างกายจะขับออกมาตามกลไกธรรมชาติ โดยมีการเคลื่อนที่ของน้ำอสุจิออกมาทางอวัยวะเพศขณะนอนหลับ วัยรุ่นชายหลายคนจึงมักพบว่า เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วมีของเหลวเปียกชื้นติดที่กางเกง ของเหลวนี้ก็คือน้ำอสุจินั่นเอง การฝันเปียกจึงเป็นเรื่องธรรมชาติของวัยรุ่นที่มีอายุ 13-14 ปี อาการฝันเปียกจะค่อยๆ น้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น
            การฝันเปียกนอกจากจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเข้าสู่วัยหนุ่มแล้ว ยังแสดงว่าชายหนุ่มผู้นั้นสามารถที่จะมีเพศสัมพันธ์และทำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ได้ด้วย

            หนุ่ม ๆ ควรปฏิบัติตนอย่างไร
     1.วัยรุ่นชายควรดูแลรักษาความสะอาดอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณที่อับชื้นได้ง่าย เช่น รักแร้ ขาหนีบ อวัยวะเพศ ขณะอาบน้ำควรล้างบริเวณใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศให้สะอาด เพราะบริเวณดังกล่าวจะเป็นที่สะสมของเซลล์ที่ตายแล้ว และมูกเมือกที่เรียกว่า ขี้เปียก ซึ่งทำให้มีกลิ่นเหม็น และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย ผู้ที่มีปัญหาหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศไม่เปิด ทำให้รู้สึกเจ็บและทำความสะอาดไม่สะดวกควรปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการขลิบหรือตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศออก
            2. ดูแลป้องกันมิให้อวัยวะเพศได้รับเชื้อโรคหรือได้รับการบาดเจ็บ เช่นมีเพศสัมพันธ์โดยใส่ถุงยางอนามัย ถ้าจะเล่นกีฬาที่อาจเกิดการกระทบกระทั่งกันได้ ก็ควรใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น กระจับ เป็นต้น
            3. ถ้ามีอาการผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ เช่น มีก้อนแข็ง บวม เป็นแผล มีหนองและอื่นๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์

วัยรุ่นกับความรู้สึกหรืออารมณ์ทางเพศ

            การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นทั้งชายและหญิง ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากฮอร์โมนนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นควบคู่กันทั้งการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรมหรือการแสดงออกในสังคม ความรู้สึกหรืออารมณ์ทางเพศที่เกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นที่เป็นส่วนหนึ่งของการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
          จึงมักสังเกตได้ว่า วัยรุ่นเริ่มสนใจต่อเพศตรงข้าม ขณะเดียวกันก็ต้องการให้ตนเองเป็นที่สนใจเป็นที่ยอมรับของเพื่อนทั้งเพศเดียวกันและเพื่อนต่างเพศด้วย นักเรียนบางคนอาจสงสัยว่าถ้ามีอารมณ์ทางเพศเกิดขึ้นจะทำอย่างไร ความรู้สึกหรืออารมณ์ทางเพศที่บางครั้งก็เรียวกันว่า ความใคร่ หรือกามารมณ์นั้นแม้จะเป็นแรงขับทางเพศที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ แต่เราก็สามารถควบคุมตนเองไม่ให้ตกเป็นแรงขับทางเพศได้ โดยทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งช่วยเบี่ยงเบนความต้องการทางเพศไปในทางที่เหมาะสม เช่น การเล่นดนตรี กีฬา หรือออกำลังกาย เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการหรือทำงานอดิเรกต่างๆที่ชอบ ซึ่งจะทำให้วัยรุ่นไม่ว่างอยู่กับตนเอง และหมกมุ่นทางเพศมากเกินไป แต่หากยังมีความรู้สึกหรืออารมณ์ทางเพศอยู่อีก ก็อาจใช้วิธีช่วยเหลือตนเองหรือการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง(MASTURBATION) เพื่อตอบสนองความต้องการทางเพศซึ่งสามารถจะทำได้ทั้งชายและหญิงโดยไม่ถือเป็นความผิดปกติทางเพศแต่อย่างใด
            นักเรียนลองสำรวจตนเองดูว่า มีการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้หรือไม่ หากมีความกังวล อย่าเก็บไว้คนเดียว ควรปรึกษาพูดคุยกับพ่อแม่ ญาติ พี่น้องที่ใกล้ชิด เพื่อขอคำแนะนำว่าจะมีวิธีดูแลสุขอนามัยทางเพศในเรื่องเหล่านี้อย่างไร

อนามัยวัยรุ่น
            นักเรียนได้เรียนรู้แล้วว่าวัยรุ่นมีความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายอย่างไรและความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ทำให้นักเรียนต้องดูแลร่างกายของตนเองเป็นพิเศษเพื่อให้ดูสะอาด สดใส สมวัย
            

แนวปฏิบัติเพื่ออนามัยวัยรุ่น

            1. การดูแลรักษาความสะอาดของอวัยวะเพศ
                  เพศหญิง อวัยวะเพศภายนอกของผู้หญิงนั้นเป็นร่องและรอยจีบ เหงื่อไคล ปัสสาวะ และระดูขาว (ตกขาว) ที่ออกมาอาจติดอยู่บริเวณอวัยวะเพศภายนอก หากไม่ได้ทำความสะอาดอย่างถูกต้อง อาจเกิดการหมักหมมและมีกลิ่นเหม็น หรือเกิดการอักเสบติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้น การรักษาความสะอาด จึงเป็นพื้นฐานของการป้องกันอาการผิดปกติในระบบสืบพันธุ์ได้อย่างดี
            ในสภาวะปกติ ผู้หญิงจึงควรหมั่นรักษาความสะอาด ด้วยการชำระล้างอวัยวะเพศภายนอกด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้งที่อาบน้ำ และทุกครั้งหลังการอุจจาระหรือปัสสาวะ  ควรใช้น้ำล้างให้สะอาดแล้วใช้กระดาษชำระซับให้แห้ง โดยเช็ดจากอวัยวะเพศไปทางทวารหนัก เพื่อไม่ให้เชื้อโรคจากทวารหนักติดต่อมายังช่องคลอด ควรใช้ชุดชั้นในที่แห้งและสะอาด ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป
            ช่วงมีประจำเดือน ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงตลอดเดือน จะมีผลทำให้อารมณ์ของผู้หญิงเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น ในช่วงไข่ตก หญิงสาวอาจรู้สึกว่าตนเองมีพละกำลังเรี่ยวแรงแข็งขันมากขึ้น มีอารมณ์เพศสูงขึ้น ในช่วงนี้บางคนอาจกินจุ หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห น้อยใจง่าย
            นอกจากนี้ ก่อนที่รอบเดือนจะมา หน้าอกจะคัดตึง รู้สึกเจ็บๆ บางทีสิวขึ้นตามใบหน้าและมีอาการท้องผูก จึงควรกินผัก ผลไม้ให้มากลดปริมาณน้ำตาลและเกลือในอาหารลงบ้างจะช่วยให้อาการข้างต้นบรรเทาลงและการออกกำลังกายสม่ำเสมอก็ช่วยได้มากทีเดียว
            ก่อนและหลังการมีประจำเดือนอาจมีอาการตกขาวหรือมูกใส (ไม่มีอาการคัน)ไหลออกมาจากช่องคลอด ไม่ต้องกังวลเพราะเป็นอาการที่เกิดขึ้นปกติ ช่วงที่มีประจำเดือนอาจมีอาการปวดท้องน้อยได้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจากมีเลือดคั่ง หรือมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อมดลูกในระหว่างมีประจำเดือน เราสามารถลดอาการปดนี้ได้ด้วยวิธีการง่ายๆ คือ กินยาแก้ปวด เช่นพาราเซตามอล หรืออาจประคบด้วยการวางถุงน้ำอุ่นบริเวณหน้าท้อง เพื่อบรรเทาอาหารปวด นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้สบาย และอาจออกกำลังกายโดยทำกายบริหารหรือเล่นกีฬาเบาๆ เราสามารถป้องกันการปวดประจำเดือนได้ โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
            เพศชาย เวลาอาบน้ำควรฟองสบู่บริเวณอวัยวะเพศเหมือนกับส่วนอื่นๆ ของร่างกายเป็นประจำทุกวัน เพื่อมิให้มีขี้เปียก ซึ่งเป็นส่วนผสมของเซลล์ที่ตายแล้วและมูกเมือกซึ่งมักจะติดอยู่บริเวณคอคอดบริเวณใต้ผิวหนังองคชาต ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้น จึงควรทำความสะอาดด้วยการดึงหนังหุ้มปลายองคชาตให้ร่นลงมาถึงคอคอด แล้วใช้สบู่ถูคราบขี้เปียกและล้างออกด้วยน้ำสะอาดหรือจะทำความสะอาดไปพร้อมกับการอาบน้ำทุกครั้งก็ได้
      2. กลิ่นตัว
 เป็นผลจากการปรับฮอร์โมนในร่างกาย ขณะเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กสู่วัยรุ่น เรามักไม่ค่อยได้กลิ่นตัวเอง เพราะประสาทรับรู้กลิ่นนั้นเคยชินตั้งแต่ศีรษะจรดฝ่าเท้า ล้วนเป็นจุดทำให้เกิดกลิ่นได้ทั้งสิ้น สาเหตุสำคัญของกลิ่นตัวมาจากต่อมเหงื่อซึ่งในร่างกายเรามีอยู่ 2 ชนิด คือ ต่อมเหงื่อน้ำใส   เป็นเหงื่อน้ำใสๆ ที่อยู่ตามผิวหนัง ฝ่ามือ ฝ่าเท้า แผ่นหลัง ต่อมเหงื่อชนิดนี้ไม่มีกลิ่น เว้นแต่จะมีการติดเชื้อ ต้นเหตุของกลิ่นอยู่ที่ต่อมเหงื่อน้ำขุ่นที่มีเฉพาะจุด เช่น ศีรษะ รักแร้ หัวนม อวัยวะเพศ รูหูส่วนนอก หนังตา ฯลฯ เมื่อร่างกายถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนในช่วงเปลี่ยนจาก วัยเด็กสู่หนุ่มสาว ต่อมเหงื่อน้ำขุ่นก็จะเริ่มทำงาน โปรตีนกับไขมันซึ่งเป็นส่วนประกอบของเหงื่อชนิดนี้ จะถูกขับออกมาตามรูขุมขนเมื่อเหงื่อสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรีย ก็จะเกิดการเน่าเปื่อยของหนังกำพร้า และมีกลิ่นตามมาโดยเฉพาะบริเวณที่มีขนและอับชื้น เช่น รักแร้ หนังศีรษะ (เส้นผม) เป็นส่วนที่มีต่อมไขมันใต้ผิวหนังเจริญได้ดี พวกแบคทีเรียต่างๆ มักจะเกาะอยู่บนไขมันที่ผิวหนัง ขับหลั่งออกมาจนเกิดกลิ่นผม นอกจากนี้ ผมยังมีคุณสมบัติในการเก็บและกระจายกลิ่นอีกด้วย เด็กวัยรุ่นจึงต้องสระผมให้บ่อยขึ้น ประมาณสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง หรืออาจจะสระทุกวันถ้าเหงื่อออกมากหรือเล่นกีฬา
            กลิ่นรักแร้จะมาพร้อมกับขนที่งอกออกมาเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น และกลิ่นจะแรงมากขึ้นเมื่อเป็นวัยรุ่น ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนบางอย่างคอยกระตุ้นต่อมคัดหลั่งและต่อมไขมันใต้ผิวหนัง ที่แม้จะทำความสะอาดด้วยการอาบน้ำ ทาแป้ง หรือใช้ยาระงับกลิ่นตัวแล้ว  อาจปกปิดกลิ่นได้เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น กลิ่นจะยังไม่หายไปอย่างถาวร นอกจากนี้กลิ่นรักแร้ของวัยรุ่นหญิงบางคนจะเปลี่ยนไปตามช่วงการมีรอบเดือนด้วย
            ส่วนผสมของยาระงับกลิ่นตัวที่มีจำหน่ายทั่วไป ส่วนใหญ่ประกอบด้วยยาลดเหงื่อทำให้หลอดเลือดบริเวณรักแร้หดตัวเพื่อลดการมีเหงื่อ และยายับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค แต่มีข้อควรระวังในการใช้ เช่น อาจเกิดอาการแพ้ มีผลให้ผิวหนังอักเสบได้
            นอกจากจะแก้ปัญหากลิ่นตัวด้วยการรักษาสุขอนามัยและการใช้ยาระงับกลิ่นเหงื่อแล้ว เรื่องอาหารก็มีส่วนอยู่มาก การกินเนื้อสัตว์ ไขมัน เครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน หรืออาหารเผ็ดร้อน เค็มจัด หวานจัด การกินอาหารซ้ำๆ หรือกินไม่เป็นเวลาล้วนแต่เร่งให้ต่อมเหงื่อขับไขมันออกมากขึ้นเช่นกัน การกินผัก ผลไม้ให้มากขึ้นก็เป็นการลดปัญหานี้ลงได้บ้าง แต่สำหรับบางรายที่มีกลิ่นตัวแรงมาก ควรไปพบแพทย์ด้านผิวหนัง

            3. สิว
            เป็นปัญหาผิวพรรณที่พบได้บ่อยที่สุดปัญหาหนึ่ง คนส่วนมากมักจะคิดว่าสิวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นเท่านั้น แต่ความเป็นจริงสิวสามารถเกิดขึ้นกับคนทุกเพศ ทุกวัย ภายใต้ผิวหนังของเรามีเซลล์และต่อมไขมันซึ่งสร้างและหลั่งสารที่เรียกว่า ซีบัม (ZEBUM) ซึ่งสารชนิดนี้จะช่วยทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่มตามธรรมชาติ ซีบัมประกอบด้วย กรดไขมัน คอเลสเตอรอล (CHOLESTEROL) ขี้ผึ้ง และเศษเซลล์ที่ตายแล้ว ซึ่งจะช่วยปกป้องผิวไม่ให้แห้งกร้าน ความผิดปกติบางอย่างอาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างที่มีการหลั่งซีบัม หากร่างกายสร้างสารซีบัมขึ้นมามากเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดการอุดตันขึ้น ซึ่งอาจเกิดการติดเชื้อ อักเสบ บวมแดง กลายเป็นสิวอักเสบและสร้างความไม่น่าดูให้กับใบหน้าได้
            การดูแลรักษา
            ถ้าหากเราสามารถดูแลรักษารูขุมขนให้สะอาด ทำให้การอุดตันของรูขุมขนลดลง โอกาสเกิดสิวอักเสบก็จะลดลงไปได้ วิธีง่ายที่สุดในการรักษารูขุมขนให้สะอาด คือ การชำระล้างผิวให้สะอาดด้วยสบู่อย่างอ่อนเป็นประจำ ไม่จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาแพง
            ในกรณีที่กรรมวิธีการล้างหน้าแบบง่ายๆ ไม่สามารถทำให้รูขุมขนสะอาดได้ สารขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วอย่างเรตินอยด์ (RETINOIDS) หรือเบนโซอิล เปอร์อ๊อกไซด์ (BENZOYL PEROXIDE)  ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดใบหน้าชนิดต่างๆ สามารถช่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สารเหล่านี้จะช่วยเปิดรูขุมขนและขจัดหัวสิวออกไป แต่ก่อนที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการทำความสะอาดใบหน้าซึ่งมีอยู่หลากหลาย ควรตรวจดูฉลากสินค้าเพื่อเลือกหาผลิตภัณฑ์ที่มีสารเหล่านี้เป็นส่วนผสมสำคัญหรืออาจขอคำแนะนำจากเภสัชกรในท้องถิ่นของนักเรียนก็ได้
            คนส่วนใหญ่ที่เป็นสิวอักเสบ มักจะบีบสิวเพื่อให้หัวสิวหลุดออกมา แต่ผู้เชี่ยวชาญได้เตือนว่า การบีบสิวอักเสบจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาก็คือ การติดเชื้อในบริเวณที่ลึกลงไปของเนื้อเยื่อในส่วนนั้น สิวอักเสบเพียงเล็กน้อยไม่รุนแรงนัก สามารถควบคุมอาการได้ โดยไม่ต้องใช้ยา แต่หากสิวเริ่มติดเชื้ออักเสบรุนแรงจนไม่อาจควบคุมอาการได้ก็จำเป็นต้องไปพบแพทย์

            4. กลิ่นปาก
            การเกิดกลิ่นปากอาจมีหลายปัจจัย แต่ปัจจัยหลักคือ การหมักหมมของเศษอาหารและแบคทีเรียในปาก ดังนั้น ในบริเวณใดที่มีเศษอาหารตกค้าง แบคทีเรียก็ทำให้เกิดการบูดเน่า และเกิดกลิ่นเหม็น เช่น เชื้อแบคทีเรียในปากตาย ทำให้เกิดสารระเหยของซัลเฟอร์ (SULFER)  ออกมาจึงเกิดกลิ่น แบคทีเรียสลายอาหารที่อยู่ในปากทำให้เกิดกลิ่นเหม็น การไม่ดื่นน้ำหรือไม่กินอาหาร ทำให้แบคทีเรียไม่ถูกชะล้างจึงเกิดกลิ่นปาก โรคฟันผุ สุขลักษณะช่องปากไม่ดี มีการขังของเศษอาหารในช่องปากหรือ กลิ่นจากอาหารที่กินเข้าไป เช่น กาแฟ สุรา หอมใหญ่ กระเทียม พริก หรือกลิ่นจากการการสูบบุหรี่ เป็นต้น
            การหลั่งของน้ำลายมากหรือน้อยก็ส่งผลต่อการเกิดกลิ่นปากได้ ตัวอย่างเช่น ในช่วงเวลาอาหารที่เราอดอาหาร การหลั่งน้ำลายจะลดลง ส่งผลให้มีกลิ่นปาก ในภาวะที่เคี้ยวอาหารจะช่วยเพิ่มการหลั่งของน้ำลายมากขึ้น เชื้อแบคทีเรียหรืออาหารจะถูกชะล้าง ส่งผลต่อการทำความสะอาดในช่องปาก กลิ่นปากก็ลดลงด้วย
            กลิ่นเหม็นจากช่องปาก บางครั้งเกิดขึ้นได้จากโคนลิ้นด้านในสุด เนื่องจากมีเมือกในช่องจมูกไหลลงคอ มักจะมีสาเหตุมาจากอาการของภูมิแพ้  น้ำเมือกที่ไหลลงคอที่โคนลิ้นระยะแรกๆ จะไม่ทำให้เกิดกลิ่นปาก แต่สัก 2-3 วันต่อมาแบคทีเรียก็จะย่อยน้ำเมือก ทำให้เกิดกลิ่น เราสามารถทดสอบกลิ่น โดยใช้ช้อนพลาสติกขูดเบาๆ ด้านในสุดของลิ้น ปล่อยทิ้งไว้สักครู่ จึงดมดู มีข้อสังเกตในกรณีคนที่มีกลิ่นปากจากสาเหตุนี้ เวลาเป่าปากจะไม่ค่อยได้กลิ่น แต่กลิ่นจะเหม็นเมื่อเริ่มพูดเนื่องจากมีลมผ่านลิ้นที่เคลื่อนไหว จึงมีกลิ่นมากขึ้น ดังนั้นจึงควรแปรงลิ้นอย่างเบามือร่วมกับการแปรงฟันทุกครั้ง และแปรงให้ลึกถึงโคนลิ้นจะช่วยทำความสะอาดน้ำเมือกตกค้างที่ทำให้เกิดกลิ่นปากได้

            การทดสอบกลิ่นปาก
            โดยทั่วไปมักจะใช้มือปิดทั้งปากและจมูก เป่าลมแรงๆ ออกจากปากและดม ซึ่งบางคนก็สามารถบอกได้ว่า มีกลิ่นปากหรือไม่ หรือจะใช้ วิธีที่ 2 คือล้างข้อมือด้วยสบู่ให้สะอาด แล้วล้างน้ำจนสะอาด ใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้งและเลียที่ข้อมือ 4 ครั้ง หลังจากนั้น 30 นาทีให้ดมว่ามีกลิ่นหรือไม่
            การดูแลรักษา
            วิธีการจะแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นปากให้ได้ผลนั้น ต้องเน้นที่การดูแลรักษาอนามัยของช่องปากให้สะอาดและดูแลรักษาสภาวะในช่องปากให้เป็นปกติ หากมีสภาพของฟันและเหงือกที่เป็นโรค ควรไปรับการรักษา ในกรณีที่มีฟันเก มีซอกเหงือกหรือร่องเหงือกที่ทำให้มีเศษอาหารตกค้าง ควรใช้ไหมขัดฟันช่วยทำความสะอาดที่บริเวณนี้เพิ่มจากการแปรงฟัน ในส่วนของลิ้นก็ควรแปรงอย่างเบามือให้สะอาดและถูกวิธี ควรแปรงให้ถึงโคนลิ้น ซึ่งมักเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นในกรณีที่มีปากแห้งควรดื่มน้ำให้เพียงพอ
            5. กลิ่นเท้า
            เท้ารับหน้าที่มากตลอดเวลาในการรับน้ำหนัก พาเราไปในที่ต่างๆ เท้าจึงควรได้รับการดูแลทำความสะอาดทุกวัน โดยเฉพาะในตอนเย็นควรใช้สบู่และแปรงเล็กทำความสะอาดบริเวณซอกเล็บ ซอกนิ้วเท้า ฝ่าเท้าและส้นเท้า
            ควรนำรองเท้าออกผึ่งแดดอ่อนๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อช่วยลดกลิ่นอับและเชื้อราในรองเท้าจากการสวมรองเท้าซึ่งอบอยู่ตลอดทั้งวัน อาจใช้แผ่นรองเท้า (หาซื้อได้ตามร้านขายรองเท้าหรือห้างสรรพสินค้า) ใช้รองพื้นในรองเท้าและนำออกมาซักสัปดาห์ละครั้ง ก็จะได้รองเท้าสะอาดใช้ทั้งสัปดาห์ ควรมีรองเท้าเปลี่ยนอย่างน้อยสลับกัน 2 คู่และอาจใช้สเปรย์ขจัดกลิ่นเท้าหรือสเปรย์ขจัดกลิ่นในรองเท้าฉีดพ่นถ้าจำเป็น ถ้าเท้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราก็จะทำให้มีกลิ่นเหม็น ควรใช้ยาฆ่าเชื้อโรคทาบริเวณที่มีการติดเชื้อ

 ใบงานที่......2

เรื่อง   การเปลี่ยนแปลงร่างกายของวัยรุ่น

     คำชี้แจง   ให้นักเรียนจับคู่คำและข้อความต่อไปนี้ที่สัมพันธ์กัน    โดยการนำตัวอักษร หน้าข้อความไปเติมลงในช่องว่างหน้าตัวเลขข้อ

 ............1.  ฝันเปียก                             ก. น้ำตามผิวหนัง ฝ่ามือ ฝ่าเท้าแผ่นหลั

.............2.  ลูกอัณฑะ                           ข.  วัยรุ่นชายอายุราว 13-14 ปี

.............3. MASTURBATION            ค. สารขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วไม่ให้รูขุมขนตัน

............ 4.  ช่วงไข่ตก                          ง.  กรดไขมัน

                                                    

.............5.  ต่อมเหงื่อน้ำใส                 จ.  สารจากเซลล์และต่อมไขมันภายใต้ผิวหนั


............ 6.  เร่งให้มีกลิ่นตัวเพิ่มขึ้น    ฉ.  ก่อนที่เสียงจะแตกหนุ่ม 1 ปี


.............7.  ซีบัม                         ช. การหลั่งน้ำอสุจิของเพศชายโดยไม่ตัวในขณะนอนหลับ


.............8.  เรตินอยด์                           ซ.  ปัญหาตามมาก็คือการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ


.............9.  สารระเหยของซัลเฟอร์    ฌ.  การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง   

          
...........10. สามารถผลิตอสุจิที่สมบูรณ์    ญ.  แหล่งเกิดกลิ่นเหม็นจากช่องปาก


...........11. CHOLESTEROL                      ฎ.  เลียที่ข้อมือ 4 ครั้ง ทิ้งไว้แล้วดมดู 


...........12. การบีบสิว                                  ฏ.  มีหน้าที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ ของเพศชาย


...........13.  โคนลิ้นด้านในสุด                    ฐ.  พละกำลังเรี่ยวแรงและอารมณ์เพศสูงขึ้น


...........14.  ลูกกระเดือกจะเติบโตขึ้น       ฑ.  เกิดจากการตายของเชื้อแบคทีเรียในปาก


 ..........15.  การทดสอบกลิ่นปาก     ฒ.  การกินเนื้อสัตว์ ไขมัน เครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน


ชื่อ  ....................................................................เลขที่  ................ห้อง......................






เฉลยใบงานที่ ....2.......

 1.   =     ช         2.  =     ฏ          3.  =    ฌ         4.  =     ฐ         5.  =    
 6.   =     ฒ        7.  =     จ          8.  =     ค         9.  =    ฑ        10.  =  
11.  =     ง       12.  =     ซ         13.  =            14.  =           15.  =  






ใบความรู้ที่  2 

พัฒนาการทางร่างกายของวัยรุ่นชาย

               เด็กผู้ชายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง อวัยวะเพศเติบโตขึ้นมาก เริ่มมีขนขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น หน้าแข้ง หน้าอก รักแร้ และอวัยวะเพศ ใบหน้ามีหนวดเคราขึ้นมาบ้างแล้ว เสียงเริ่มแตกหนุ่ม ก่อนที่เสียงจะแตกหนุ่ม 1 ปี กล่องเสียงจะใหญ่ขึ้น ลูกกระเดือกจะเติบโตขึ้นจนมองเห็นได้ ที่เห็นเด่นชัดที่สุดของวัยนี้คือ ความสูงที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เด็กชายทั่วไปจะเริ่มสนใจความสูงของตนเองมากกว่าเด็กหญิงในวัยเดียวกัน ช่วงปลายอายุ 13 ปี เด็กชายประมาณครึ่งหนึ่งจะถึงจุดสูงสุดของตัวเองแล้ว และเริ่มมีกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อาจเริ่มมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศขึ้นได้ ไม่ต้องกังวลเพราะเป็นธรรมชาติของระบบการทำงานของร่างกายซึ่งเป็นไปตามวัย เด็กชายบางคนอาจจะมีการหลั่งน้ำอสุจิโดยไม่รู้ตัวในขณะนอนหลับ หรือที่เรียกว่า ฝันเปียก เด็กหนุ่มวัยนี้บางคนเริ่มมีกลิ่นตัว จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะรักษาความสะอาด และอาจใช้สารส้มหรือยาระงับกลิ่นตัว

จากวัยรุ่นสู่วัยหนุ่ม

            เด็กผู้ชายจะก้าวเข้าสู่วัยรุ่นในช่วงอายุประมาณ 13-14 ปี ซึ่งจะช้ากว่าเด็กผู้หญิง 2-3 ปี เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจที่เห็นได้ชัดเจน คือ มีความสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เสียงห้าวขึ้น บริเวณไหล่ และหน้าอกขยายกว้างขึ้น อวัยวะเพศใหญ่ขึ้นมีขนขึ้นบริเวณใบหน้า รักแร้ แขน ขา และอวัยวะเพศ เริ่มมีการหลั่งของน้ำอสุจิ
            นักเรียนชายและเพื่อนหลายๆคน ก็กำลังอยู่ในวัยหนุ่ม และคงมีข้อสงสัยหลายอย่างที่อยากรู้ว่า  การเปลี่ยนแปลงในวัยหนุ่มมีอะไรบ้าง เกิดขึ้นได้อย่างไรและจะมีวิธีการดูแลตนเองอย่างไร การเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่อไปนี้ จะช่วยบ่งบอกว่าเข้าสู่วัยหนุ่มแล้ว
           -ลูกกระเดือก เป็นส่วนนูนของกล่องเสียง เด็กชายที่ย่างเข้าสู่วัยรุ่นกล่องเสียงจะโตขึ้น สายเสียงจะยาวขึ้น ทำให้เสียงเปลี่ยนเป็นเสียงที่ห้าวขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนเพศชาย การเปลี่ยนแปลงของเสียงจึงเป็นเรื่องธรรมชาติ ที่วัยรุ่นชายไม่ควรกังวลใจ
       -อวัยวะเพศ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ อวัยวะเพศภายนอก และอวัยวะเพศภายในเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่ม อวัยวะเพศชายทั้งในส่วนขององคชาติและอัณฑะจะมีขนาดใหญ่ขึ้น มีขนขึ้นปกคลุมบริเวณองคชาติ องคชาติสามารถแข็งตัวเมื่อถูกกระตุ้นทางเพศหรือถูกสัมผัสขนาดขององคชาติของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไปซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ
       - ลูกอัณฑะ เป็นต่อมเพศ ซึ่งมีหน้าที่ผลิตอสุจิหรือเซลล์สืบพันธุ์ ของเพศชายปกติลูกอัณฑะด้านซ้ายมักห้อยต่ำกว่าขวาเล็กน้อย เพื่อจะได้ไม่กระทบกันเวลาเดิน หรือวิ่ง วัยรุ่นจะเริ่มมีการเจริญเติบโตของลูกอัณฑะในช่วงอายุ 10-13 ปี แต่จะเจริญเติบโตและสามารถผลิตอสุจิที่สมบูรณ์ได้เมื่ออายุราว 13-14 ปี ถ้าอสุจิมีปริมาณมากก็จะถูกขับออกมา เด็กหนุ่มวัยนี้จะมีประสบการณ์ที่เรียกว่า ฝันเปียก

 ใบงานที่    1
เรื่อง    การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นหญิง

              คำชี้แจง   ให้นักเรียนสรุปเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและ


            1.  เด็กสาวอายุราว 11-15 ปี  ร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ที่อวัยวะใดมากที่สุด

            2.  มื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น  อวัยวะบางส่วนจะค่อยๆขยายขึ้น อันเป็นผลจากสิ่งใด

            3.  วัยรุ่นหญิงมีสิ่งใดที่สามารถบ่งบอกว่าร่างกายพร้อมที่จะให้กำเนิดทารกได้

            4.  ระยะใดเรียกว่ระยะตกไข่ ในเพศหญิง

            5.  ในช่วงก่อนมีประจำเดือนประมาณ 1 สัปดาห์  ผู้หญิงจะมีอาการอย่างไร

            6.  ผู้หญิงที่มีประจำเดือนควรเปลี่ยนผ้าอนามัอย่างไร

            7.  อาการปวดท้องประจำเดือน ส่วนใหญ่จะปวดในช่วงใด

            8.  หัวเหน่า  คืออวัยวะส่วนใดในเพศหญิง

            9.  ส่วนใดบ้างที่แสดงถึงความเป็นเพศหญิงได้เด่นชัดที่สุด

            10.  การที่ผู้หญิงมีจิตใจเป็นชาย  หรือที่เรียกว่าทอม  สามารถ
เปลี่ยนแปลงหรือเลิก อาการนี้ได้หรือไม่  แพทย์รักษาให้หายได้หรือไม่  มีวิธี
การอย่างไร  จงอธิบาย
           






 เฉลยใบ   งานที่  1

 1.  หน้าอก หรือเต้านม เริ่มขยายใหญ่ขึ้น
            2.  อิทธิพลของฮอร์โมนเพศ
            3.  การมีประจำเดือน
            4.  ประมาณ 14 วัน ก่อนที่ประจำเดือนจะมา
            5.  จะมีอาการคัด เจ็บหรือตึงที่เต้านม บางคนมีสิวขึ้น
ตามในหน้า  ปวดบริเวณท้องน้อย   ปวดศีรษะข้างเดียว คลื่นไส้  เหนื่อยง่าย อารมณ์ไม่ค่อยดี หงุดหงิดง่าย
6.  วันละ 1-2 ครั้ง หรือตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดความอับชื้น
7.  ในวันแรกที่มีประจำเดือน
8.  บริเวณเนินอวัยวะเพศ
  9.  การมีเต้านมขยายใหญ่มากกว่าเพศชาย 
10.  เฉลย ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของครู  แต่แพทย์หรือจิตแพทย์ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ 
           






The knowledge that one.Children with developmental and physical changes of adolescence.

               
Adolescence is the period between childhood and adult life. This is a critical turning point. The complex changes in many body systems as well as sexual, psychological, emotional, intellectual, social, and intellectual or moral. The beginning and the differences in each person. These changes may cause anxiety. But if we understand well enough to make this transition. It reduces anxiety. And reduce conflict in their own. Adapt to the people around you. And able to live happily in society.Changes in the body.

            
Early adolescents aged 10-13 years a lot has changed physically. The growth hormone on the increase. Children grow so big so fast. In particular, the neck, arms, legs and body to feel that they have a gauche Annoyance with the growth or size of each section. May occur simultaneously, such as left and right side of the body grows in size as early as the growth stage.Physical development of young women.

            
The girl at the age of 13 years to a height of approximately 95 percent of the total height. Subsequently, the height is increasing at a rate slow down. Appearance began to change to neck, shoulder, hip, thigh, upper arm was round-shaped And a couple more. Chest hair has also gradually expanded to various parts of the body such as the armpits, genitals, etc..

            
Her 13-year period it is often the most. Which indicates the availability of reproduction. Girls this age need to learn to see themselves. Some people may worry that there will be monthly activities. Not as much as before. Indeed, to do everything the same. They just have to take care of cleaning. The sanitary napkin. At the appropriate times. Do not get too damp. If you feel weak and should be sufficient. If you have severe abdominal pain. Doctor. Some people may have body odor. We should take care to clean up the armpit. And alum, or odor of the drug.From childhood to youth.

                

 
Girls aged around 11-15 years old will be moving into the youth. The body started to change, such as the hip, chest or breast skin to puff up some noise in the armpit and genital hair. Students and friends. I was in my teens. I have seen many changes. I happen to own. But some of them may be just a pimple. The questions that I know. What changes have happened. And when they occur and how they behave. Organization change and how to care for themselves when they enter the youth.

            
- The breast is an organ of the female. Breast lump in the mammary fat mass. Which serves the milk for children. When they enter adolescence. Breast milk will gradually grow up. As a result of the influence of female hormones in general, each breast will be slightly different. Each woman's breast size will vary depending on the amount of fatty tissue on the inside. The color of the nipples, some of them may vary according to the skin. The enlargement of the breast to the youth. It is natural that women should not be worried, but should maintain a clean breast. The natural body bath. Eating fatty foods. This helps the breast tissue. Muscles of the chest. The muscles strong and toned women should consult their parents or relatives about the size of the bra to fit. To build. Self-confidence. Be careful not to dress up or allow anyone to feel desperate. Especially the opposite sex. This may lead to a sexual threat.

            
- On your hip youth. Every woman's hips will be divergence. Because of the size or the accumulation of muscle or fat. Regular exercise will help strengthen and tighten the muscles around the hip.

                
- Female genital organs are divided into two parts: the external and internal organs. When they enter adolescence. The changes evident in respect of the clitoris is. To the hairy parts of the pubis and menstruation.

    
- Menstrual or menstrual blood is coming out of the wall of the uterus. Through the vagina every month, most women begin to menstruate at the age of 10-15 years of slow or fast depending on the development of the brain. And genetic health of the individual. Menstruation is a natural signal. Indicates that the body is ready to give birth to babies.

                        
When young women start to the second side of the ovary to the uterus or fallopian tubes are fully grown. Ready to produce eggs every month. Typically, the egg from the ovary of a bubble in the alternate months. The egg travels down the tubes, ovaries, which are welded together. Ovaries and uterus. The spawning period was known as ovulation, which occurs approximately 14 days prior to menstruation. Moved by pipeline ovarian eggs are embedded in the uterine wall thickening due to accumulation of nutrients. For the embryo. If the egg is mixed with sperm. Uterine wall, it will decay and fade out with the eggs. And mixed with mucus coming out with. A month.

            
Menstrual blood is not blood. As many people are mistaken.Number of days of menstruation and menstrual periods may not be the same each time. When the body a while to adjust to a normal period. We can note that the day of the month and the next time will come when

             
Note, however, indicates that nearly a month.

     
In about a week before menstruation, when women are screened. Pain or tightness in the breast. Some people have acne on the face. Abdominal pain. Unilateral headache, nausea, fatigue, irritability and bad temper, but it does feel good when menstruation begins. Symptoms before and after menstruation is another. Symptoms of vaginal discharge, which is a clear mucus. (No irritation) to flow out of the vagina. These symptoms are usually caused by changes in hormone levels in the body.

            
How should I behave.

            
A. Maintain the cleanliness of the vulva. The natural body bath. Do not use disinfectants or cleaning inside the vagina. It can cause inflammation and infection. After the bath towels to dry completely before wearing lingerie.

               
Two. And clean underwear on a regular basis. Do not wear tight underwear, tight or dry.

         
Three. Advise you on how to use a sanitary napkin with his mother. Or women. During the menstrual tampons should be changed 1-2 times daily or as needed to prevent the moisture and flavor.

              
Four. Before menstruation. Some women may have strained the breast. In accordance with acne. Constipated Should eat more vegetables and fruit. Reduce the amount of sugar and salt in food. And a routine exercise. Will help these symptoms subside.

            
Five. When menstrual pain. Most of the pain the first day of menstruation. Days later with a fever, which is less common. May take painkillers and warm compresses to the abdomen to relieve abdominal pain. Some women may not have any pain. If you have abdominal pain or headache, fever, menstruation (Akgtabrado) I can not go to school or work, they should seek medical advice.

            
6. Before and after menstruation. If symptoms such as abnormal vaginal discharge thick yellow mucus. Foul odor or itching. This may be caused by inflammation of the vagina. Or a fungal infection of the damp in the pants. Or other causes. Ask your doctor for further treatment to correct



 ใบความรู้  ที่  1

วัยรุ่นกับการเปลี่ยนแปลง  และ   พัฒนาการทางร่างกายของวัยรุ่นหญิง


               วัยรุ่น คือ ช่วงชีวิตระหว่างวัยเด็กกับผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่ง เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนกันหลายด้านในระบบต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งระบบเพศ ด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา และปัญญาหรือจริยธรรม ซึ่งมีจุดเริ่มต้นและการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไปในแต่ละคน  การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุให้เกิดความวิตกกังวล แต่ถ้าหากเราเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ดีพอ ก็จะเป็นการช่วยลดความวิตกกังวล และลดความขัดแย้งในตนเอง ปรับตัวเข้ากับคนรอบข้างได้ และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข


การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย

            วัยรุ่นตอนต้น อายุระหว่าง 10-13 ปี เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมาก การที่ฮอร์โมนเกี่ยวกับการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นมาก เด็กวัยนี้จึงเติบโตสูงใหญ่อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะที่คอ แขน ขา มากกว่าลำตัว ทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีรูปร่างเก้งก้าง น่ารำคาญประกอบกับการเติบโตหรือการขยายขนาดแต่ละส่วน อาจเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน เช่น ร่างกายซีกซ้ายและขวาเจริญเติบโตมีขนาดไม่เท่ากัน ในระยะแรกๆ แต่จะเจริญเท่ากันในระยะท้ายๆ

พัฒนาการทางร่างกายของวัยรุ่นหญิง

            เด็กผู้หญิง เมื่อถึงวัย 13 ปี จะมีความสูงได้ประมาณร้อยละ 95 ของความสูงที่จะมีทั้งหมด ต่อจากนั้นความสูงจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าลง รูปร่างหน้าตาเริ่มจะเปลี่ยนไป คอ ไหล่ ต้นแขน สะโพก ต้นขาเริ่มกลมกลึง และดูเป็นสาวมากขึ้น ทรวงอกยังค่อยๆ ขยายต่อไป เริ่มมีขนขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ที่รักแร้ อวัยวะเพศ เป็นต้น
            เด็กสาววัย 13 ปี มักจะมีประจำเดือนกันแล้วเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งบ่งบอกถึงความพร้อมในการสืบพันธุ์ สาววัยนี้จะต้องเรียนรู้ในการดูแล้วตัวเอง บางคนอาจกังวลว่าการมีประจำเดือนจะทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ได้เท่าก่อน แท้จริงแล้วยังทำกิจกรรมทุกอย่างได้เหมือนเดิม เพียงแต่ต้องดูแลความสะอาด เปลี่ยนผ้าอนามัย ตามเวลาที่เหมาะสม อย่าให้อับชื้นมากเกินไป หากรู้สึกอ่อนเพลียควรพักผ่อนให้พอเพียง ถ้ามีอาการปวดท้องรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ บางคนอาจเริ่มมีกลิ่นตัว จึงควรดูแลความสะอาดบริเวณรักแร้ให้มากขึ้น และอาจใช้สารส้มหรือยาระงับกลิ่นตัว
จากวัยเด็กสู่วัยสาว
                   
 เด็กสาวอายุราว 11-15 ปี จะเป็นช่วงที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยสาว ร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เช่น หน้าอก หรือเต้านมขยาย สะโพกผายขึ้น บางคนมีเสียงเปลี่ยน เป็นสิว มีขนขึ้นที่รักแร้และอวัยวะเพศ  นักเรียนหญิงและเพื่อนๆ ก็กำลังอยู่ในช่วงวัยรุ่น หลายคนควรได้เห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นกับตนเองแล้ว แต่บางคนก็อาจจะเพิ่งเป็นสิว และมีคำถามหรือข้อสงสัยมากมายที่อยากรู้ว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นบ้าง และเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะปฏิบัติตนอย่างไร กรเปลี่ยนแปลงและวิธีการดูแลตนเองเมื่อเข้าสู่วัยสาว ดังนี้

            -เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงความเป็นเพศหญิง เต้านมเป็นก้อนเนื้อไขมันภายในเป็นต่อมน้ำนมจำนวนมาก ซึ่งทำหน้าที่สร้างน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูก เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เต้านมจะค่อยๆขยายขึ้น อันเป็นผลจากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศหญิงโดยทั่วไปเต้านมแต่ละข้างจะมีขนาดแตกต่างกันเล็กน้อย ผู้หญิงแต่ละคนจะมีขนาดของเต้านมแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณของเนื้อเยื่อไขมันที่อยู่ภายใน สีของหัวนมบางคนก็อาจแตกต่างกันไปตามลักษณะผิว การขยายขนาดของเต้านมเมื่อเข้าสู่วัยสาว จึงเป็นเรื่องธรรมชาติที่หญิงสาวไม่ควรกังวลใจแต่ควรดูแลรักษาความสะอาดเต้านม โดยการอาบน้ำชำระร่างกายตามปกติ กินอาหารประเภทไขมัน ซึ่งช่วยบำรุงเนื้อเยื่อเต้านม  บริเวณกล้ามเนื้อส่วนอก เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และกระชับ ควรปรึกษาแม่หรือญาติผู้หญิงเกี่ยวกับการเลือกขนาดของเสื้อยกทรงให้เหมาะสม เพื่อช่วยเสริมสร้าง ความมั่นใจให้กับตนเอง ระมัดระวังไม่แต่งตัวล่อแหลมหรือเปิดโอกาสให้ใครมาสัมผัส โดยเฉพาะเพศตรงข้าม เพราะอาจนำไปสู่ภัยทางเพศได้        
            -สะโพก เมื่อเข้าสู่วัยสาว สะโพกของผู้หญิงทุกคนจะผายออก เพราะมีการขยายขนาดหรือการสะสมของกล้ามเนื้อหรือไขมัน การบริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณสะโพกแข็งแรงและกระชับ
                -อวัยวะเพศหญิง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ อวัยวะภายนอกและอวัยวะภายใน เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดในส่วนที่เกี่ยวกับอวัยวะเพศหญิงก็คือ จะมีขนปกคลุมบริเวณเนินอวัยวะเพศ ที่เรียกว่า หัวเหน่า และการมีประจำเดือน
    -ประจำเดือนหรือระดู คือ เลือดที่ออกมาจากผนังมดลูก ผ่านออกมาทางช่องคลอดทุกๆ เดือน ส่วนใหญ่หญิงสาวจะเริ่มมีประจำเดือนได้ตั้งแต่อายุ 10-15 ปี ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับการพัฒนาการของสมอง พันธุกรรมและสุขภาพของแต่ละคน การมีประจำเดือนเป็นเรื่องธรรมชาติซึ่งเป็นสัญญาณ บ่งบอกว่าร่างกายพร้อมที่จะให้กำเนิดทารกได้
                        ผู้หญิงเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสาว รังไข่ทั้ง 2 ข้าง ที่ติดกับปีกมดลูกหรือท่อนำไข่จะเจริญเติบโตเต็มที่ พร้อมที่จะผลิตไข่ออกมาทุกเดือน โดยปกติจะมีไข่ตกจากรังไข่เดือนละ 1 ฟอง สลับกันเดือนละข้าง ไข่จะเดินทางไปตามท่อรังไข่ที่เชื่อมติดกัน รังไข่และมดลูก การปล่อยไข่ออกมานี้ เรียกว่า ระยะตกไข่ ซึ่งจะเกิดขึ้นประมาณ 14 วัน ก่อนที่ประจำเดือนจะมา ไข่ที่เคลื่อนตัวไปตามท่อรังไข่จะไปฝังตัวที่ผนังมดลูกซึ่งมีลักษณะหนาขึ้นเพราะสะสมสารอาหารต่างๆ ไว้สำหรับเลี้ยงตัวอ่อน หากไข่ไม่ได้ผสมกับเชื้ออสุจิ ผนังมดลูกก็จะสลายตัวหลุดลอกออกมาพร้อมกับไข่ และจะมีเมือกปนออกมาด้วย กลายเป็นประจำเดือน
            เลือดประจำเดือนจึงมิใช่เลือดเสีย ดังที่หลายคนมักเข้าใจผิด ผู้หญิงแต่ละคนอาจมีประจำเดือนนานไม่เท่ากัน บางคนมีเพียง 2 วัน บางคนมีนานถึง 7 วัน แต่ส่วนใหญ่จะมี 4-5 วัน ในระยะแรกของการเริ่มมีประจำเดือน จำนวนวันของการมีประจำเดือนและช่วงเวลาที่มีประจำเดือนแต่ละครั้งอาจไม่เท่ากัน เมื่อร่างกายปรับตัวไประยะหนึ่งแล้วประจำเดือนก็จะมาเป็นปกติ ซึ่งสามารถจดบันทึกได้ว่าวันไหนประจำเดือนมาและประมาณได้ว่าครั้งต่อไปจะมาเมื่อไร
             ข้อสังเกตอย่างไรที่บ่งบอกว่าใกล้จะมีประจำเดือน
     ในช่วงก่อนมีประจำเดือนประมาณ 1 สัปดาห์ ผู้หญิงจะมีอาการคัด เจ็บหรือตึงที่เต้านม บางคนมีสิวขึ้นตามในหน้า ปวดบริเวณท้องน้อย ปวดศีรษะข้างเดียว คลื่นไส้ เหนื่อยง่าย อารมณ์ไม่ค่อยดี หงุดหงิดง่าย แต่จะรู้สึกดีเมื่อประจำเดือนเริ่มมา อาการที่พบก่อนและหลังการมีประจำเดือนอีกอย่างหนึ่งคือ อาการตกขาวซึ่งมีลักษณะเป็นมูกใส (ไม่มีอาการคัน) ไหลออกมาจากช่องคลอด อาการดังกล่าวถือเป็นเรื่องปกติซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย
            สาวๆ ควรปฏิบัติตนอย่างไร
            1. ดูแลรักษาความสะอาดของอวัยวะเพศภายนอก โดยอาบน้ำชำระร่างกายตามปกติ ไม่ควรใช้น้ำหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคล้างภายในช่องคลอด เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อได้  หลังอาบน้ำควรเช็ดตัวให้แห้งสนิทก่อนใส่ชุดชั้นใน
               2. รักษาความสะอาดของชุดชั้นในอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใส่ชุดชั้นในที่คับ รัดรูป หรือเปียกชื้น
         3. ปรึกษาวิธีการใช้ผ้าอนามัยกับแม่ หรือเพื่อนผู้หญิง ในระหว่างที่มีประจำเดือนควรเปลี่ยนผ้าอนามัย วันละ 1-2 ครั้ง หรือตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดความอับชื้นและมีกลิ่น
              4. ก่อนมีประจำเดือน หญิงสาวบางคนอาจมีการตึงคัดเต้านม มีสิวขึ้นตามในหน้า มีอาการท้องผูก ควรกินอาหารประเภทผักและผลไม้ให้มาก ลดปริมาณน้ำตาลและเกลือในอาหาร และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้อาการดังกล่าวบรรเทาลง

            5. เมื่อมีอาการปวดท้องประจำเดือน ส่วนใหญ่จะปวดในวันแรกที่มีประจำเดือน วันต่อมาจะมีอาการน้อยลงซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ อาจกินยาแก้ปวดและใช้น้ำอุ่นประคบหน้าท้องเพื่อบรรเทาอาการปวดท้องได้ ผู้หญิงบางคนอาจไม่มีอาการปวดประจำเดือนก็ได้ หากมีอาการปวดท้องประจำเดือนมาก หรือปวดศีรษะ มีไข้ (ไข้ทับระดู) จนไม่สามารถไปโรงเรียนหรือทำงานได้ก็ควรปรึกษาแพทย์
            6. ช่วงก่อนและหลังมีประจำเดือน หากมีอาการตกขาวผิดปกติ เช่น เป็นมูกสีเหลืองข้น มีกลิ่นเหม็นหรือมีอาการคัน ซึ่งอาจเกิดจากการอักเสบของช่องคลอด หรือมีการติดเชื้อ เช่น เชื้อราจากความอับชื้นของกางเกงใน หรือสาเหตุอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป